การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม


                รูปแบบระบบการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม ได้ออกแบบบนหลักการ Open data ซึ่งได้เปิดเผยข้อมูลความต้องการที่ได้จากภาคประชาชน เพื่อให้ข้าราชการในแต่ละส่วนงานสามารถนำข้อมูลไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

                ข้อมูลความต้องการของประชาชนที่ได้จากระบบ จะถือได้ว่าเป็นข้อมูลเปิดภาครัฐ (open government data) ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานของรัฐ ช่วยสนับสนุนการทำงานพัฒนาจังหวัดของข้าราชการทั้งในระดับจังหวัด และในระดับท้องถิ่น ทำให้ประชาชนสามารถติดตามความเคลื่อนไหว นำมาซึ่งความรับผิดชอบของภาครัฐต่อประชาชน และช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนอันเป็นหัวใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

                สำหรับระบบนี้ สามารถแบ่งผู้ใช้งานได้เป็น 3 ระดับหลัก ๆ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป ผู้นำชุมชน และข้าราชการ โดยผู้นำชุมชนจะเป็นผู้นำเข้าข้อมูลความต้องการจากประชาชนในพื้นที่ ขณะที่ข้าราชการในระดับต่าง ๆ เป็นผู้ใช้ข้อมูลเพื่อกำหนดการทำงบประมาณเพื่อการพัฒนา

                ด้วยวิสัยทัศน์ในการเพิ่มช่องทางการจัดทำโครงการของจังหวัดสระบุรีนั้น มีผลกระทบในเชิงบวกเนื่องจาก ระบบที่จัดทำขึ้นร่วมกับโครงการต่าง ๆ ที่ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง จะสามารถสร้างความรู้ กระบวนการทำงานใหม่ จนส่งดีในความรวดเร็วสำหรับการระบุโครงการที่จัดทำขึ้น รวมถึงการตรวจสอบสถานะของโครงการว่าอยู่ในลักษณะใด มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของเรื่อง


ตาราง : แสดงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเชิงยุทธศาสตร์จังหวัดสระบุรี ทั้ง ๕ ด้าน

1. ด้านเศรษฐกิจ

ส่งเสริมการเกษตร/แปรรูป

พัฒนากลุ่มอาชีพ/แรงงาน

พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน

พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

สนับสนุนผู้ประกอบการ

2. ด้านสังคม

สุขภาพ/สาธารณสุข

ผู้ยากไร้/ผู้ด้อยโอกาส

ผู้สูงอายุ

สวัสดิการ

ศาสนา/วัฒนธรรม

3. ด้านสิ่งแวดล้อม

พื้นที่สีเขียว

น้ำเสีย/น้ำทิ้ง

มลภาวะทางเสียง

มลพิษทางอากาศ/ฝุ่นละออง

สุนัขจรจัด

4. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ถนน/สะพาน

ไฟฟ้า/ประปา/น้ำดื่ม

แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร/อุตสาหกรรม

ขนส่งมวลชน

สโทรคมนาคม/อินเทอร์เน็ต

5. ด้านความมั่งคง

ความปลอดภัย

อาชญากรรม

ยาเสพติด

ภัยธรรมชาติ

สิทธิมนุษยชน



เป้าหมายการพัฒนาของจังหวัดสระบุรี (พ.ศ. 2561 – 2565) เมืองการค้า การลงทุน ในอุตสาหกรรมสีเขียวระดับนานาชาติ สังคมแห่งความสุข